วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กฏของการลงทุนอย่างมีระบบ

1. “รู้ว่า อะไรสำคัญและอะไรไม่สำคัญ” 
ต้องดูว่ามีอะไรที่สำคัญเกี่ยวกับการลงทุนของเราบ้าง เพราะนี่คือสิ่งที่จะทำให้คุณชนะหรือแพ้ได้เลย และไม่ควรสนใจหรือทุ่มเทในสิ่งที่ไม่สำคัญมากนัก
2. “ถ้าคุณจะกระโดดลงคลอง  ก็ขอให้แน่ใจว่าคุณรู้ว่าน้ำนั้นลึกเท่าไร”  ประเด็นคือ ไม่ว่าคุณจะเสี่ยงลงทุนไปกับเรื่องใดก็ตาม ควรตรวจสอบและวิเคราะห์ให้ถี่ถ้วนที่สุด และควรคิดด้วยว่าถ้าพลาดขั้นร้ายแรงนั้นเรายังคงจะอยู่รอดและไม่เสียหายมากเกินไป
3. “มีระบบความเชื่อของตนเอง”  “มีความมั่นคงและยึดมั่นในสิ่งที่ทำ”  และ  “มี ศรัทธาต่อสิ่งนั้น” จะทำให้ความคิดของเราไม่วอกแวก และทำในสิ่งที่ถูกต้องสอดคล้องกันไปในระยะยาว ถ้าเชื่อแบบไหนก็ควรลงมือทำด้วยความศรัทธาไม่ท้อถอย เช่น อย่าเริ่มซื้อหุ้นด้วยความคิดหนึ่ง แต่ขายหุ้นทิ้งด้วยความคิดอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งอยู่ตรงข้ามกัน
4. “อยู่ข้างเทพ  อย่าอยู่ข้างมาร” หมายถึง ควรเลือกบริษัทที่อยู่ในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่อยู่ในช่วงของการเติบโต เป็นธุรกิจที่กำลังมี  “กระแส”   (นั่นคือเทพ) ซึ่งวิธีที่จะเลือกได้อย่างถูกต้องนั้นนอกจากจะเลือกและวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งแล้วยังต้องตัดอคติและความรู้สึกส่วนตัวออก
5.   “คุณจะไม่มีวันเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างได้” คนเราอาจจะเข้าใจลึกซึ้งในบางเรื่องเท่านั้นและยังมีเรื่องที่เรายังไม่เข้าใจอีกมาก ซึ่งถ้าเราไม่เข้าใจแต่ตัดสินใจลงทุน เราก็อาจจะพบกับความผิดหวังได้ง่าย ดังนั้นหากเรายังไม่เข้าใจในการลงทุนตัวไหนก็ไม่ควรเสี่ยงลงทุนมาก
6.  “รักษาคุณธรรมและจริยธรรมให้สูงเข้าไว้” เพราะนี่คือกติกาที่คนส่วนใหญ่ยอมรับและยกย่อง อย่า ใช้วิธีการที่ไม่มีคุณธรรมในการลงทุนหรือเล่นหุ้นแม้ว่ามันจะทำให้เราได้ กำไรเร็วและมาก เช่น แนะนำเพื่อนให้ซื้อหุ้นที่ไม่ดีที่เรากำลังจะขายทิ้ง เป็นต้น 
กฏข้อสุดท้าย รู้ว่าความสุขที่แท้จริงมาจากไหน "เงิน" ก่อให้เกิดความสุขได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นการมุ่งที่จะหาความสุขจากเงินมากเกินไปรังแต่จะก่อให้เกิดความทุกข์ขึ้นมาแทน เพราะความสุขที่แท้จริงนั้นอยู่ในใจมากกว่าปัจจัยภายนอก